วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2564

ส่วนที่ 2 การวิเคราะห์ข้อมูล

 2.1 การวิเคราะห์ปัจจัยภายในหรือสภาพแวดล้อมภายใน จะทำให้ตำบลทราบถึงความสามารถหรือความเป็นตัวตนของตำบล

            (1) จุดอ่อน คือ ลักษณะหรือข้อด้อยของตำบลเมื่อเทียบกับตำบลอื่น         

๑. ประชาชนในพื้นที่มีการศึกษาต่ำกว่าเกณฑ์ เนื่องจากไม่ค่อยให้ความสำคัญด้านการศึกษาเท่าที่ควร ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญต่อการพัฒนาในทุก ๆ  ด้าน

๒. ปัญหาการขาดการประสานงานระหว่างหน่วยงานในพื้นที่ (ขาดหลักการบูรณาการ)

๓. ปัญหาการอพยพแรงงานไปทำงานในประเทศมาเลเซีย

๔. ปัญหาด้านการบริหาร ขาดเครื่องมือเครื่องใช้และสถานที่ในการปฏิบัติงาน

๕. ปัญหาด้านบุคลากรในการปฏิบัติงานไม่เพียงพอตามแผนอัตรากำลัง    ปีตามที่ตั้งไว้

6. การให้ความสนใจและการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชนต่อการดำเนินงานของ อบต. มีน้อย

๗. งบประมาณในการดำเนินการพัฒนาท้องถิ่นมีจำนวนจำกัดไม่เพียงพอ   

            (2)  จุดแข็ง คือ ศักยภาพความสามารถหรือข้อเด่นของตำบลเมื่อเทียบกับตำบลอื่น               

               1.จังหวัดนราธิวาสมีแหล่งท่องเที่ยวและโบราณสถานสำคัญหลายแห่ง เช่น ตำหนักทักษิณราชนิเวศน์หาดนราทัศน์น้ำตกสิรินธรมัสยิด ๓๐๐ ปี เป็นต้น

               ๒. ชุมชนมีวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง

               ๓. ความหลากหลายทางวัฒนธรรม สามารถเป็นจุดดึงดูดความสนใจนักท่องเที่ยวได้

               ๔. เป็นประตูสู่ประเทศมาเลเซีย สามารถเป็นเส้นทางขนส่งสินค้า / ธุรกิจระหว่างประเทศ ส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจได้

               ๕. มีความอุดมสมบูรณ์ในเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและผลิตผลทางการเกษตร

               ๖. การคมนาคมสะดวกอยู่ใกล้ตัวเมืองอำเภอสุไหงโก-ลก

 

2.2 การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก หรือสภาพแวดล้อมภายนอก จะทำให้ตำบลทราบถึงโอกาสและอุปสรรคการทำงานของตำบล

      (1) โอกาส

               ๑. การให้ความสำคัญของรัฐบาลต่อการพัฒนาพื้นที่ใน    จังหวัดชายแดนภาคใต้

               ๒. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

พ. ศ. ๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่    พ. ศ. ๒๕๕9 กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีอำนาจหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่น โดยให้หน่วยงานราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาคส่งเสริมและสนับสนุนการถ่ายโอนภารกิจให้แก่ อบต.

               ๓. รัฐบาลสนับสนุนให้แต่ละท้องถิ่นมีบทบาทในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู เผยแพร่ และถ่ายทอดวัฒนธรรมประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่นมากขึ้น

                ๔. รัฐบาลมีนโยบายและให้ความสำคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

               ๕ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ. ศ. ๒๕๔๒ สนับสนุนให้มีการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นอย่างเท่าเทียมกันและทั่วถึง

     

(2)อุปสรรค
               1. เหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่งผลกระทบต่อสภาพความเป็นอยู่การประกอบอาชีพของประชาชนในพื้นที่

               ๒. สภาวการณ์ทางเศรษฐกิจในระดับประเทศ ในระดับภูมิภาคส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่น

               ๓.ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ทำให้ประชาชนจากต่างจังหวัด และต่างประเทศไม่กล้าเข้ามาท่องเที่ยว

               ๔. งบประมาณในการพัฒนาท้องถิ่นไม่พอเพียงต่อการพัฒนาท้องถิ่น

               ๕. ปัญหาเรื่องระเบียบ กฎหมาย ข้อปฏิบัติไม่สอดคล้องกับการบริหารงานแบบบูรณาการ

 2.3 โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลชุมชนในการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบูรณาการวางแผนงาน (CIA)

     





2. ๔ ทิศทางการพัฒนา

ทิศทางการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน

-          บุกเบิก สร้าง ปรับปรุง บำรุงรักษาทางคมนาคม สะพาน ระบบระบายน้ำ

-          สร้างปรับปรุงแหล่งน้ำอุปโภค บริโภค

-          พัฒนาและปรับปรุงระบบจราจร

-          จัดให้มีไฟฟ้าและระบบโทรคมนาคมอย่างทั่วถึง

ทิศทางการพัฒนาด้านงานส่งเสริมคุณภาพชีวิต

-          ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างงานสร้างอาชีพแบบยั่งยืนให้กับประชาชนในท้องถิ่น

-          ส่งเสริมงานด้านสังคมสงเคราะห์และสวัสดิการชุมชนแก่ผู้ด้อยโอกาสทางสังคม

-          ส่งเสริมการศึกษาทั้งในนอกระบบตามอัธยาศัยโดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

-          ส่งเสริมศักยภาพศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติด

-          ส่งเสริมการออกกำลังกาย กีฬา และนันทนาการ

-          ส่งเสริมการป้องกัน รักษา ควบคุมโรค ตลอดจนการพัฒนาด้านการสาธารณสุข

-          ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนเพื่อการรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

ทิศทางการพัฒนาด้านการจัดระเบียบชุมชน / สังคมและการรักษาความสงบเรียบร้อย

-          ส่งเสริมให้ความรู้ เข้าใจ แก่ประชาชน เกี่ยวกับการเมืองการปกครองระบบประชาธิปไตย

-          พัฒนาศักยภาพของท้องถิ่นในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยตลอดจนการรักษาความสงบ

ทิศทางการพัฒนาด้านการวางแผน การส่งเสริมการลงทุนพาณิชยกรรม และการท่องเที่ยว

-          ส่งเสริมระบบเศรฐกิจชุมชนและผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่น

-          ส่งเสริมในประชาชนยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง

-          ส่งเสริมโครงการตามแนวพระราดำริ

ทิศทางการพัฒนาด้านการบริหารจัดการการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

-          อนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

-          ส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนในชุมชนมีจิตสำนึกการร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

-          ปรับปรุงภูมิทัศน์ในชุมชนและเมือง

-          จัดทำระบบกำจัดขยะสิ่งปฏิกูลและระบบบำบัดน้ำเสีย

-          ส่งเสริมและสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทน

ทิศทางการพัฒนาด้านศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น

-          ส่งเสริมการอนุรักษ์ฟื้นฟูสืบทอดจารีตประเพณีศิลปวัฒนธรรม

-          ส่งเสริมสนับสนุนภูมิปัญญาท้องถิ่นปูชนียบุคคล

-          ส่งเสริมและสนับสนุนการอนุรักษ์โบราณวัตถุและโบราณสถาน

-          ส่งเสริมสับสนุนการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของเด็กเยาวชนและประชาชน

ทิศทางการพัฒนาด้านการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล

-          พัฒนาความรู้ความสามารถและคุณธรรมจริยธรรมแก่บุคลากรในองค์กร

-          พัฒนาปรับปรุงจัดหาเครื่องมือเครื่องใช้ตลอดจนสถานที่ในการปฏิบัติงาน

-          พัฒนาปรับปรุงระบบบริหารจัดการองค์กรตามหลักธรรมาภิบาล

-          ปรับปรุงและสร้างระบบการให้บริการที่ทันสมัยรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

-          ส่งเสริมและสร้างทัศนคติที่ดีต่อการปฏิบัติงานเพื่อการบริการประชาชน

-          พัฒนาส่งเสริมระบบการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่การดำเนินงานขององค์กรเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน

ทิศทางการพัฒนาด้านการป้องกันยาเสพติด

-          ยุทธศาสตร์การป้องกันกลุ่มผู้มีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด

-          ยุทธศาสตร์การสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อป้องกันปัญหายาเสพติด

-          การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน

-          การบริหารจัดการอย่างบูรณาการ

ทิศทางการพัฒนาด้านการปราบปรามยาเสพติด

-          ยุทธศาสตร์การควบคุมตัวยาและผู้ค้ายาเสพติด

-          ยุทธศาสตร์ความร่วมมือระหว่างประเทศ

ทิศทางการพัฒนาด้านการบำบัดรักษายาเสพติด

-          ยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาผู้เสพผู้ติดยาเสพติด

-          ยุทธศาสตร์การสร้างและพัฒนาระบบรองรับการคืนคนดีให้สังคม

 

 ๒. ๕ กลยุทธ์หรือวิธีปฏิบัติเพื่อไปสู่ทิศทาง/เป้าหมายของการพัฒนา

๑. การพัฒนาตำบลให้น่าอยู่มีความเข้มแข็ง โดยได้รับบริการสาธารณะด้านโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นเพื่อรองรับการขยายตัวของชุมชนและเศรษฐกิจ

๒. การพัฒนาระบบการศึกษา ส่งเสริมการกีฬาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน

๓. การพัฒนาศักยภาพของท้องถิ่นในการให้บริการประชาชนตลอดจนการรักษาความสงบเรียบร้อยในท้องถิ่น

๔. การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพคนและความเข้มแข็งของชุมชนในการพึ่งตนเอง ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

๕. การส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

6. การเสริมสร้างและทำนุบำรุงศาสนา ตลอดจนศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ๗

๗. การพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐที่ดีและมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน

          8เสริมสร้างความเข้มแข็งในการจัดการตนเองให้มีความปลอดภัยสงบเรียบร้อย และความมั่นคงในพื้นที่ ป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด

 การวิเคราะห์ปัญหาของตำบล

ลำดับความสำคัญของปัญหา

ชื่อปัญหา

สาเหตุของปัญหา

ข้อมูลบ่งชี้สภาพ ขนาด และความรุนแรงของปัญหา

แนวทางการแก้ไขปัญหา

1

ปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการอุปโภค บริโภค

บ่อบาดาลตื้นเขิน ขาดแหล่งกักเก็บน้ำถาวร

 

ขุดเจาะบ่อบาดาลเดิม และสร้างแหล่งเก็บน้ำ

2

บ่อน้ำตื้น

ฤดูแล้งขาดน้ำใช้ในการอุปโภคบริโภค

 

ขุดบ่อน้ำตื้น

3

ปัญหาเรื่องน้ำกินน้ำใช้

น้ำเป็นสนิมน้ำแดง

 

สร้างประปาหมู่บ้าน

4

ที่ดินทำกิน ขาดเอกสารสิทธ์

ที่ดินติดป่าสงวน

 

ให้ภาครัฐช่วยเหลือในการครอบครองที่ดินให้ถูกกฎหมาย

5

ปัญหาด้านรายได้ไม่เพียงพอ

ราคายางตกต่ำ

 

ส่งเสริมอาชีพเสริม เพื่อเพิ่มรายได้

6

ศาลาอเนกประสงค์ประจำสนามกีฬานูรุลอิสลาม

ขาดศาลาเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการสนามกีฬา

 

สร้างศาลาอเนกประสงค์

7

ปัญหาด้านสุขภาพ

ประชาชนส่วนใหญ่ไม่มีการตรวจสุขภาพประจำปี

 

กำหนดให้ กม. ด้านสาธารณสุข และ อสม. เข้าด่วนคัดกรองสุขภาพเป็นประจำทุกเดือน

8

ที่ดินทำกิน ขาดเอกสารสิทธ์

ที่ดินติดป่าสงวน

 

ให้ภาครัฐช่วยเหลือในการครอบครองที่ดินให้ถูกกฎหมาย

9

ปัญหาด้านรายได้ไม่เพียงพอ

ราคายางพาราตกต่ำ

 

ส่งเสริมให้มีอาชีพเสริมรายได้ในครัวเรือน

10

ปัญหาด้านสุขภาพ

ประชาชนส่วนใหญ่ไม่มีการตรวจสุขภาพประจำปี

 

กำหนดให้ กม. ด้านสาธารณสุข และ อสม. เข้าด่วนคัดกรองสุขภาพเป็นประจำทุกเดือน

11

ปัญหาน้ำขัง

คูระบายน้ำอุดตัน

 

ขุดลอกคูระบายน้ำ

12

ปรับปรุงซ่อมแซมที่อยู่อาศัยให้กับผู้พิการและผู้ยากไร้

สภาพที่อยู่อาศัยไม่แข็งแรง

 

ซ่อมแซมที่อยู่อาศัย

13

ปัญหาขยะมูลฝอย

ไม่มีการบริหารจัดการคัดแยกขยะอย่างถูกต้องและเหมาะสม

 

จัดอบรมให้ความรู้การบริหารจัดการคัดแยกขยะให้กับคนในชุมชน มีการจัดกิจกรรมแข่งขันในแต่ละคุ้ม

14

ปัญหาอาชีพที่ไม่มั่งคง

ตกงาน  ว่างงาน

 

ส่งเสริมอาชีพเสริม

15

การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไม้ผล

ชาวบ้านขาดความรู้เกี่ยวกับการเพิ่มผลผลิตของไม้ผล

 

ให้ความรู้การเพิ่มผลผลิตฯ

16

น้ำท่วมขังไม่สามารถระบายน้ำในช่วง

ลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบ

 

ขุดลอกคูระบายน้ำ

17

เยาวชนขาดจิตสำนึกสาธารณะ

ไม่มีกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เยาวชนมีส่วนร่วม

 

จัดกิจกรรมประจำปีในหมู่บ้านโดยเน้นกลุ่มเยาวชน รวมถึงเด็กในวัยเรียน

18

ถนนสายเจาะแห – สะพานปะจูแวมะ

การเดินทางสัญจรของประชาชนในพื้นที่ไม่ค่อยสะดวก

 

สร้างสะพาน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของตำบล

1.แผนตำบล   2. ประวัติความเป็นมาของตำบล            ตำบลปูโยะ เป็นตำบลเก่าแก่ของอำเภอสุไหงโก-ลก เป็นตำบล ๑ ใน ๔ ของอำเภอสุไหงโก-ลก คำว่า ปูโย...