วันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2564

ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของตำบล

1.แผนตำบล

 

2. ประวัติความเป็นมาของตำบล

          ตำบลปูโยะ เป็นตำบลเก่าแก่ของอำเภอสุไหงโก-ลก เป็นตำบล ๑ ใน ๔ ของอำเภอสุไหงโก-ลก คำว่า ปูโยะ เป็นภาษามลายู ที่แปลว่า หม้อ แต่ความหมายของตำบลปูโยะในที่นี้หมายถึง ปลาชนิดหนึ่งที่มีลักษณะคล้ายปลาช่อนมีลายจุดดำตลอดทั้งตัวในภาษาไทยเรียกว่าปลาช่อนงูเห่า ซึ่งปลาชนิดนี้มีพบจำนวนมากในตำบลปูโยะ โดยเฉพาะตามคลองโต๊ะแดงจึงเอาปลาชนิดนี้มาตั้งเป็นชื่อตำบลว่าตำบลปูโยะจนถึงปัจจุบัน

3. พื้นที่ทั้งหมด 34,029 ไร่  หรือ 54.45 ตารางกิโลเมตร

4. อาณาเขต

   ตำบลปูโยะตั้งอยู่ในอำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ห่างจากอำเภอ  ไปทางทิศใต้ 12 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดนราธิวาส ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ 53 กิโลเมตร  มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้

         ทิศเหนือ          ติดต่อกับอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส

          ทิศใต้             ติดต่อกับตำบลปาเสมัส อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส

          ทิศตะวันออก    ติดต่อกับตำบลปูโยะ อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส

          ทิศตะวันตก      ติดต่อกับอำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส

5. ลักษณะภูมิประเทศ

พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบลุ่ม มีน้ำท่วมขัง ป่าไม้ส่วนใหญ่เป็นป่าพรุ

6. จำนวนประชากรรวมทั้งสิ้น 6,793 คน แยกเป็น ชาย 3,333 คน หญิง 3,460 คน

    6.1 ผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป ) รวมทั้งสิ้น 727 คน แยกเป็น

          ชาย 334 คน หญิง 393 คน (รายชื่อแนบ)

    6.2 คนพิการ รวมทั้งสิ้น 163 คน แยกเป็น ชาย - คน หญิง - คน (รายชื่อแนบ)

7. จำนวนครัวเรือน 1,438 ครัวเรือน (ตามทะเบียน/ตามข้อมูลการจัดเก็บ จปฐ )

8. การประกอบอาชีพ

    8. ๑ อาชีพหลักของครัวเรือน

           8. ๑. ๑ อาชีพ รับจ้างทั่วไป       จำนวน  193    คน/ครัวเรือน

           8. ๑. ๒ อาชีพ ค้าขาย             จำนวน  193    คน/ครัวเรือน

           8. ๑. 3 อาชีพ เกษคร ทำสวน    จำนวน  518    คน/ครัวเรือน

           8. ๑. 5 อาชีพ รับราชการ        จำนวน  88      คน/ครัวเรือน

           8. ๑. 6 อาชีพ พนักงานบริษัท    จำนวน  78      คน/ครัวเรือน

           8. ๑. 7 อาชีพ อาชีพอื่นๆ         จำนวน  239    คน/ครัวเรือน

    8. ๒ อาชีพเสริมหรืออาชีพรอง

          8. ๒. ๑ อาชีพทำขนม              จำนวน   38     คน/ครัวเรือน

          8. ๒. ๒ อาชีพตัดเย็บ               จำนวน   95     คน/ครัวเรือน

          8. ๒. 3 อาชีพปลูกผัก              จำนวน  15      คน/ครัวเรือน 

          8. ๒. 4 อาชีพเลี้ยงสัตว์             จำนวน  23      คน/ครัวเรือน

9. ผู้ว่างงาน จำนวน 274 คน แยกเป็น

          9. ๑ กลุ่มอายุ ๑๓ ๑๔ ปี        จำนวน 70   คน

          ๔. ๒ กลุ่มอายุ ๑๙ - ๒๕ ปี        จำนวน 92   คน

          ๙. ๓ กลุ่มอายุ ๒๕ ปี ขึ้นไป        จำนวน 111 คน

 ๑๐. ตำบลมีรายได้ 11,178,000 บาท/ปี   รายจ่าย 10,509,000 บาท/ปี

       มีหนี้สิน   -   บาท / ปี

๑๑. รายได้เฉลี่ยของประชากร (ตามเกณฑ์จปฐ. ปี)   จำนวน 49,612.82 บาท/คน/ปี

      ครัวเรือนยากจน (รายได้ไม่ถึง ๓๘000 บาทคน/ปี) ปี 2562

      จำนวน 11 ครัวเรือน

ชื่อหัวหน้าครัวเรือน                          หมู่ที่    อาชีพหัวหน้าครัวเรือน     รายได้เฉลี่ยคน/ปี (บาท)

นาง แมะยะ มะดีเยาะ                        1        รับจ้างทั่วไป               35,000.00

นาย สะมะแอ เจ๊ะเลาะ                       1        รับจ้างทั่วไป               35,000.00

นาย อามี อาลี                                1        รับจ้างทั่วไป                35,000.00

นางสาว สุรียานี มะแซ                       1        รับจ้างทั่วไป                35,000.00

นาง ลีเยาะ เจ๊ะมะ                            2        ไม่มีอาชีพ                    8,400.00

นาย มือลี มะมิง                               2        เกษตร-ทำสวน             30,000.00

นาย อาหามะ ดือรอเสะ                     2        รับจ้างทั่วไป                30,000.00

นางสาว หสสรรณีย์ อาแวซีแต               2        รับจ้างทั่วไป                32,500.00

นางสาว เจ๊ะอานะ ดาโอ๊ะ                    2        รับจ้างทั่วไป                32,500.00

นาง มูแย สาและ                             3        เกษตร-ทำสวน             35,000.00

นาง แมะซง เจ๊ะเงาะ                         6        รับจ้างทั่วไป               36,000.00

 

๑๒. จำนวนกลุ่มกิจกรรม/อาชีพ มีจำนวน 12 กลุ่ม ดังนี้ (ควรระบุรายละเอียดอื่นๆที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน)

    ๑๒.๑  ตัดเย็บเสื้อผ้า                               หมู่ 1,2,4        จำนวนสมาชิก   30  คน

    ๑๒.2 กลุ่มทำเบเกอร์รี่                             หมู่ 1,2,4        จำนวนสมาชิก   35  คน

    ๑๒.3 กลุ่มทำน้ำยาล้างจาน                       หมู่ 1             จำนวนสมาชิก  1๐  คน

    ๑๒.4 กลุ่มลี้ยงปลาดุกในกระชัง                   หมู่ 1,2           จำนวนสมาชิก   40  คน

    ๑๒.5  กลุ่มเลี้ยงโคขุน                             หมู่ 2,5,6        จำนวนสมาชิก  60  คน

    ๑๒.6 กลุ่มปลูกมะนาวบ่อซีเมนต์                  หมู่ 2             จำนวนสมาชิก   15  คน

    12.7  ชมรม To be number one              ทุกหมู่บ้าน       จำนวนสมาชิก   100 คน

    12.8 กลุ่ม กลุ่มอาชีพค้าขาย                      หมู่ 3             จำนวนสมาชิก    30  คน

    12.9 กลุ่มปลูกผัก                                  หมู่ 3,4,5        จำนวนสมาชิก  130  คน

    12.10 กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต              หมู่ 5             จำนวนสมาชิก   30  คน

    12.11 กลุ่ม อสม.                                 ทุกหมู่บ้าน       จำนวนสมาชิก    88  คน

    12.12 กลุ่มพัฒนาบทบาทสตรี                   ทุกหมู่บ้าน       จำนวนสมาชิก 1200  คน

 

๑๓. กองทุนในตำบล  มีจำนวน 4 กองทุน ดังนี้

    ๑๓.๑ ชื่อกองทุนหมู่บ้าน                           มีจำนวน 6 กองทุน

            มีงบประมาณรวม 6,000,000 บาท

    ๑๓.๒ ชื่อกองทุนกองทุนแม่ของแผ่นดิน           มีจำนวน 5 กองทุน

            มีงบประมาณรวม 43,000บาท

    ๑๓.๓ ชื่อกองทุนออมทรัพย์เพื่อการเกษตร        มีจำนวน 1 กองทุน

            มีงบประมาณรวม 917,670 บาท

    ๑๓.4 ชื่อกองทุนออมทรัพย์สัจจะ                 มีจำนวน 1 กองทุน

            มีงบประมาณรวม 50,000 บาท

 

๑๔. ข้อมูลความต้องการพัฒนาฝีมือแรงงานของประชาชน

       อาชีพทำขนม                           จำนวน   20     คน     

       อาชีพเพาะเห็ดฟาง                     จำนวน   ๒๐     คน

       อาชีพตัดเย็บเสื้อผ้า                     จำนวน   15     คน

       อาชีพปลูกผัก                           จำนวน   30     คน

       อาชีพช่างตัดผม                         จำนวน         คน

       อาชีพจักรสาน                          จำนวน   20     คน

       อาชีพเลี้ยงไก่                            จำนวน   15     คน

15 ข้อมูลคมนาคม/สาธารณูปโภค

    15.1 การเดินทางเข้าตำบล

           การคมนาคมขนส่งถนนในตำบลปูโยะมีจำนวนทั้งหมด ๓๐ สายแบ่งเป็น-ถนนคอนกรีต ๑๖ สายถนนลาดยาง ๓ สายถนนลูกรัง 99 สาย-สะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก ๑๕ สาย. 

    15.2 สาธารณูปโภค

การไฟฟ้า

    การใช้ไฟฟ้าในตำบลปูโยะ มีดังนี้

          - จำนวนครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้ ๑๔๓๘ ครัวเรือน

          - พื้นที่ได้รับการบริการไฟฟ้า ร้อยละของพื้นที่ทั้งหมดคิดเป็น ๑๐๐%

          - ไฟฟ้าสาธารณะ (ไฟฟ้าส่องสว่าง) มีจำนวน ๔๕๑ จุด

การประปา

    การใช้ประปาในตำบลปูโยะ มีประชากรที่ใช้น้ำประปา จำนวน ๔ หมู่บ้าน

          - หมู่ที่ ๑ บ้านลาแล                - หมู่ที่ ๒ บ้านปูโยะ

          - หมู่ที่ ๓ บ้านโต๊ะเวาะ             - หมู่ที่ บ้านโคกสือแด

โทรศัพท์ / ระบบอินเตอร์เน็ต / Wifi

    มีการใช้โทรศัพท์ตามบ้านเรือน และใช้มือถือหรือสมาร์ทโฟน ทุกครัวเรือน

    - ประชาชนมีการใช้ระบบอินเตอร์เน็ต / Wif ในการติดต่อสื่อสารอย่างแพร่หลาย

ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่งและวัสดุครุภัณฑ์

    - มีที่ทำการไปรษณีย์เอกชนอนุญาต ๑ แห่ง

    15.3 แหล่งน้ำ

          พื้นที่ในตำบลปูโยะ แบ่งเป็น

          - บ่อน้ำตื้น (บ่อน้ำผิวดิน)           จำนวน    726 แห่ง

          - สระน้ำ                             จำนวน        1  แห่ง

          - บ่อบาดาล                          จำนวน       5  แห่ง

          - ฝายทดน้ำ                          จำนวน       1  แห่ง

          - คูระบายน้ำ                         จำนวน       แห่ง

          - ลำน้ำธรรมชาติ                     จำนวน       8  สาย

วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2564

ส่วนที่ 2 การวิเคราะห์ข้อมูล

 2.1 การวิเคราะห์ปัจจัยภายในหรือสภาพแวดล้อมภายใน จะทำให้ตำบลทราบถึงความสามารถหรือความเป็นตัวตนของตำบล

            (1) จุดอ่อน คือ ลักษณะหรือข้อด้อยของตำบลเมื่อเทียบกับตำบลอื่น         

๑. ประชาชนในพื้นที่มีการศึกษาต่ำกว่าเกณฑ์ เนื่องจากไม่ค่อยให้ความสำคัญด้านการศึกษาเท่าที่ควร ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญต่อการพัฒนาในทุก ๆ  ด้าน

๒. ปัญหาการขาดการประสานงานระหว่างหน่วยงานในพื้นที่ (ขาดหลักการบูรณาการ)

๓. ปัญหาการอพยพแรงงานไปทำงานในประเทศมาเลเซีย

๔. ปัญหาด้านการบริหาร ขาดเครื่องมือเครื่องใช้และสถานที่ในการปฏิบัติงาน

๕. ปัญหาด้านบุคลากรในการปฏิบัติงานไม่เพียงพอตามแผนอัตรากำลัง    ปีตามที่ตั้งไว้

6. การให้ความสนใจและการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชนต่อการดำเนินงานของ อบต. มีน้อย

๗. งบประมาณในการดำเนินการพัฒนาท้องถิ่นมีจำนวนจำกัดไม่เพียงพอ   

            (2)  จุดแข็ง คือ ศักยภาพความสามารถหรือข้อเด่นของตำบลเมื่อเทียบกับตำบลอื่น               

               1.จังหวัดนราธิวาสมีแหล่งท่องเที่ยวและโบราณสถานสำคัญหลายแห่ง เช่น ตำหนักทักษิณราชนิเวศน์หาดนราทัศน์น้ำตกสิรินธรมัสยิด ๓๐๐ ปี เป็นต้น

               ๒. ชุมชนมีวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง

               ๓. ความหลากหลายทางวัฒนธรรม สามารถเป็นจุดดึงดูดความสนใจนักท่องเที่ยวได้

               ๔. เป็นประตูสู่ประเทศมาเลเซีย สามารถเป็นเส้นทางขนส่งสินค้า / ธุรกิจระหว่างประเทศ ส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจได้

               ๕. มีความอุดมสมบูรณ์ในเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและผลิตผลทางการเกษตร

               ๖. การคมนาคมสะดวกอยู่ใกล้ตัวเมืองอำเภอสุไหงโก-ลก

 

2.2 การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก หรือสภาพแวดล้อมภายนอก จะทำให้ตำบลทราบถึงโอกาสและอุปสรรคการทำงานของตำบล

      (1) โอกาส

               ๑. การให้ความสำคัญของรัฐบาลต่อการพัฒนาพื้นที่ใน    จังหวัดชายแดนภาคใต้

               ๒. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

พ. ศ. ๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่    พ. ศ. ๒๕๕9 กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีอำนาจหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่น โดยให้หน่วยงานราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาคส่งเสริมและสนับสนุนการถ่ายโอนภารกิจให้แก่ อบต.

               ๓. รัฐบาลสนับสนุนให้แต่ละท้องถิ่นมีบทบาทในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู เผยแพร่ และถ่ายทอดวัฒนธรรมประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่นมากขึ้น

                ๔. รัฐบาลมีนโยบายและให้ความสำคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

               ๕ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ. ศ. ๒๕๔๒ สนับสนุนให้มีการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นอย่างเท่าเทียมกันและทั่วถึง

     

(2)อุปสรรค
               1. เหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่งผลกระทบต่อสภาพความเป็นอยู่การประกอบอาชีพของประชาชนในพื้นที่

               ๒. สภาวการณ์ทางเศรษฐกิจในระดับประเทศ ในระดับภูมิภาคส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่น

               ๓.ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ทำให้ประชาชนจากต่างจังหวัด และต่างประเทศไม่กล้าเข้ามาท่องเที่ยว

               ๔. งบประมาณในการพัฒนาท้องถิ่นไม่พอเพียงต่อการพัฒนาท้องถิ่น

               ๕. ปัญหาเรื่องระเบียบ กฎหมาย ข้อปฏิบัติไม่สอดคล้องกับการบริหารงานแบบบูรณาการ

 2.3 โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลชุมชนในการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบูรณาการวางแผนงาน (CIA)

     





2. ๔ ทิศทางการพัฒนา

ทิศทางการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน

-          บุกเบิก สร้าง ปรับปรุง บำรุงรักษาทางคมนาคม สะพาน ระบบระบายน้ำ

-          สร้างปรับปรุงแหล่งน้ำอุปโภค บริโภค

-          พัฒนาและปรับปรุงระบบจราจร

-          จัดให้มีไฟฟ้าและระบบโทรคมนาคมอย่างทั่วถึง

ทิศทางการพัฒนาด้านงานส่งเสริมคุณภาพชีวิต

-          ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างงานสร้างอาชีพแบบยั่งยืนให้กับประชาชนในท้องถิ่น

-          ส่งเสริมงานด้านสังคมสงเคราะห์และสวัสดิการชุมชนแก่ผู้ด้อยโอกาสทางสังคม

-          ส่งเสริมการศึกษาทั้งในนอกระบบตามอัธยาศัยโดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

-          ส่งเสริมศักยภาพศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติด

-          ส่งเสริมการออกกำลังกาย กีฬา และนันทนาการ

-          ส่งเสริมการป้องกัน รักษา ควบคุมโรค ตลอดจนการพัฒนาด้านการสาธารณสุข

-          ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนเพื่อการรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

ทิศทางการพัฒนาด้านการจัดระเบียบชุมชน / สังคมและการรักษาความสงบเรียบร้อย

-          ส่งเสริมให้ความรู้ เข้าใจ แก่ประชาชน เกี่ยวกับการเมืองการปกครองระบบประชาธิปไตย

-          พัฒนาศักยภาพของท้องถิ่นในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยตลอดจนการรักษาความสงบ

ทิศทางการพัฒนาด้านการวางแผน การส่งเสริมการลงทุนพาณิชยกรรม และการท่องเที่ยว

-          ส่งเสริมระบบเศรฐกิจชุมชนและผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่น

-          ส่งเสริมในประชาชนยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง

-          ส่งเสริมโครงการตามแนวพระราดำริ

ทิศทางการพัฒนาด้านการบริหารจัดการการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

-          อนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

-          ส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนในชุมชนมีจิตสำนึกการร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

-          ปรับปรุงภูมิทัศน์ในชุมชนและเมือง

-          จัดทำระบบกำจัดขยะสิ่งปฏิกูลและระบบบำบัดน้ำเสีย

-          ส่งเสริมและสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทน

ทิศทางการพัฒนาด้านศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น

-          ส่งเสริมการอนุรักษ์ฟื้นฟูสืบทอดจารีตประเพณีศิลปวัฒนธรรม

-          ส่งเสริมสนับสนุนภูมิปัญญาท้องถิ่นปูชนียบุคคล

-          ส่งเสริมและสนับสนุนการอนุรักษ์โบราณวัตถุและโบราณสถาน

-          ส่งเสริมสับสนุนการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของเด็กเยาวชนและประชาชน

ทิศทางการพัฒนาด้านการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล

-          พัฒนาความรู้ความสามารถและคุณธรรมจริยธรรมแก่บุคลากรในองค์กร

-          พัฒนาปรับปรุงจัดหาเครื่องมือเครื่องใช้ตลอดจนสถานที่ในการปฏิบัติงาน

-          พัฒนาปรับปรุงระบบบริหารจัดการองค์กรตามหลักธรรมาภิบาล

-          ปรับปรุงและสร้างระบบการให้บริการที่ทันสมัยรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

-          ส่งเสริมและสร้างทัศนคติที่ดีต่อการปฏิบัติงานเพื่อการบริการประชาชน

-          พัฒนาส่งเสริมระบบการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่การดำเนินงานขององค์กรเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน

ทิศทางการพัฒนาด้านการป้องกันยาเสพติด

-          ยุทธศาสตร์การป้องกันกลุ่มผู้มีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด

-          ยุทธศาสตร์การสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อป้องกันปัญหายาเสพติด

-          การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน

-          การบริหารจัดการอย่างบูรณาการ

ทิศทางการพัฒนาด้านการปราบปรามยาเสพติด

-          ยุทธศาสตร์การควบคุมตัวยาและผู้ค้ายาเสพติด

-          ยุทธศาสตร์ความร่วมมือระหว่างประเทศ

ทิศทางการพัฒนาด้านการบำบัดรักษายาเสพติด

-          ยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาผู้เสพผู้ติดยาเสพติด

-          ยุทธศาสตร์การสร้างและพัฒนาระบบรองรับการคืนคนดีให้สังคม

 

 ๒. ๕ กลยุทธ์หรือวิธีปฏิบัติเพื่อไปสู่ทิศทาง/เป้าหมายของการพัฒนา

๑. การพัฒนาตำบลให้น่าอยู่มีความเข้มแข็ง โดยได้รับบริการสาธารณะด้านโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นเพื่อรองรับการขยายตัวของชุมชนและเศรษฐกิจ

๒. การพัฒนาระบบการศึกษา ส่งเสริมการกีฬาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน

๓. การพัฒนาศักยภาพของท้องถิ่นในการให้บริการประชาชนตลอดจนการรักษาความสงบเรียบร้อยในท้องถิ่น

๔. การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพคนและความเข้มแข็งของชุมชนในการพึ่งตนเอง ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

๕. การส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

6. การเสริมสร้างและทำนุบำรุงศาสนา ตลอดจนศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ๗

๗. การพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐที่ดีและมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน

          8เสริมสร้างความเข้มแข็งในการจัดการตนเองให้มีความปลอดภัยสงบเรียบร้อย และความมั่นคงในพื้นที่ ป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด

 การวิเคราะห์ปัญหาของตำบล

ลำดับความสำคัญของปัญหา

ชื่อปัญหา

สาเหตุของปัญหา

ข้อมูลบ่งชี้สภาพ ขนาด และความรุนแรงของปัญหา

แนวทางการแก้ไขปัญหา

1

ปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการอุปโภค บริโภค

บ่อบาดาลตื้นเขิน ขาดแหล่งกักเก็บน้ำถาวร

 

ขุดเจาะบ่อบาดาลเดิม และสร้างแหล่งเก็บน้ำ

2

บ่อน้ำตื้น

ฤดูแล้งขาดน้ำใช้ในการอุปโภคบริโภค

 

ขุดบ่อน้ำตื้น

3

ปัญหาเรื่องน้ำกินน้ำใช้

น้ำเป็นสนิมน้ำแดง

 

สร้างประปาหมู่บ้าน

4

ที่ดินทำกิน ขาดเอกสารสิทธ์

ที่ดินติดป่าสงวน

 

ให้ภาครัฐช่วยเหลือในการครอบครองที่ดินให้ถูกกฎหมาย

5

ปัญหาด้านรายได้ไม่เพียงพอ

ราคายางตกต่ำ

 

ส่งเสริมอาชีพเสริม เพื่อเพิ่มรายได้

6

ศาลาอเนกประสงค์ประจำสนามกีฬานูรุลอิสลาม

ขาดศาลาเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการสนามกีฬา

 

สร้างศาลาอเนกประสงค์

7

ปัญหาด้านสุขภาพ

ประชาชนส่วนใหญ่ไม่มีการตรวจสุขภาพประจำปี

 

กำหนดให้ กม. ด้านสาธารณสุข และ อสม. เข้าด่วนคัดกรองสุขภาพเป็นประจำทุกเดือน

8

ที่ดินทำกิน ขาดเอกสารสิทธ์

ที่ดินติดป่าสงวน

 

ให้ภาครัฐช่วยเหลือในการครอบครองที่ดินให้ถูกกฎหมาย

9

ปัญหาด้านรายได้ไม่เพียงพอ

ราคายางพาราตกต่ำ

 

ส่งเสริมให้มีอาชีพเสริมรายได้ในครัวเรือน

10

ปัญหาด้านสุขภาพ

ประชาชนส่วนใหญ่ไม่มีการตรวจสุขภาพประจำปี

 

กำหนดให้ กม. ด้านสาธารณสุข และ อสม. เข้าด่วนคัดกรองสุขภาพเป็นประจำทุกเดือน

11

ปัญหาน้ำขัง

คูระบายน้ำอุดตัน

 

ขุดลอกคูระบายน้ำ

12

ปรับปรุงซ่อมแซมที่อยู่อาศัยให้กับผู้พิการและผู้ยากไร้

สภาพที่อยู่อาศัยไม่แข็งแรง

 

ซ่อมแซมที่อยู่อาศัย

13

ปัญหาขยะมูลฝอย

ไม่มีการบริหารจัดการคัดแยกขยะอย่างถูกต้องและเหมาะสม

 

จัดอบรมให้ความรู้การบริหารจัดการคัดแยกขยะให้กับคนในชุมชน มีการจัดกิจกรรมแข่งขันในแต่ละคุ้ม

14

ปัญหาอาชีพที่ไม่มั่งคง

ตกงาน  ว่างงาน

 

ส่งเสริมอาชีพเสริม

15

การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไม้ผล

ชาวบ้านขาดความรู้เกี่ยวกับการเพิ่มผลผลิตของไม้ผล

 

ให้ความรู้การเพิ่มผลผลิตฯ

16

น้ำท่วมขังไม่สามารถระบายน้ำในช่วง

ลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบ

 

ขุดลอกคูระบายน้ำ

17

เยาวชนขาดจิตสำนึกสาธารณะ

ไม่มีกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เยาวชนมีส่วนร่วม

 

จัดกิจกรรมประจำปีในหมู่บ้านโดยเน้นกลุ่มเยาวชน รวมถึงเด็กในวัยเรียน

18

ถนนสายเจาะแห – สะพานปะจูแวมะ

การเดินทางสัญจรของประชาชนในพื้นที่ไม่ค่อยสะดวก

 

สร้างสะพาน


ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของตำบล

1.แผนตำบล   2. ประวัติความเป็นมาของตำบล            ตำบลปูโยะ เป็นตำบลเก่าแก่ของอำเภอสุไหงโก-ลก เป็นตำบล ๑ ใน ๔ ของอำเภอสุไหงโก-ลก คำว่า ปูโย...