1.แผนตำบล
2. ประวัติความเป็นมาของตำบล
ตำบลปูโยะ เป็นตำบลเก่าแก่ของอำเภอสุไหงโก-ลก เป็นตำบล ๑ ใน ๔ ของอำเภอสุไหงโก-ลก คำว่า ปูโยะ เป็นภาษามลายู ที่แปลว่า หม้อ แต่ความหมายของตำบลปูโยะในที่นี้หมายถึง ปลาชนิดหนึ่งที่มีลักษณะคล้ายปลาช่อนมีลายจุดดำตลอดทั้งตัวในภาษาไทยเรียกว่าปลาช่อนงูเห่า ซึ่งปลาชนิดนี้มีพบจำนวนมากในตำบลปูโยะ โดยเฉพาะตามคลองโต๊ะแดงจึงเอาปลาชนิดนี้มาตั้งเป็นชื่อตำบลว่าตำบลปูโยะจนถึงปัจจุบัน
3. พื้นที่ทั้งหมด 34,029 ไร่ หรือ 54.45 ตารางกิโลเมตร
4. อาณาเขต
ตำบลปูโยะตั้งอยู่ในอำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ห่างจากอำเภอ ไปทางทิศใต้ 12 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดนราธิวาส ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ 53 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลปาเสมัส อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส
ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลปูโยะ อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส
5. ลักษณะภูมิประเทศ
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบลุ่ม มีน้ำท่วมขัง ป่าไม้ส่วนใหญ่เป็นป่าพรุ
6. จำนวนประชากรรวมทั้งสิ้น 6,793 คน แยกเป็น ชาย 3,333 คน หญิง 3,460 คน
6.1 ผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป ) รวมทั้งสิ้น 727 คน แยกเป็น
ชาย 334 คน หญิง 393 คน (รายชื่อแนบ)
6.2 คนพิการ รวมทั้งสิ้น 163 คน แยกเป็น ชาย - คน หญิง - คน (รายชื่อแนบ)
7. จำนวนครัวเรือน 1,438 ครัวเรือน (ตามทะเบียน/ตามข้อมูลการจัดเก็บ จปฐ )
8. การประกอบอาชีพ
8. ๑ อาชีพหลักของครัวเรือน
8. ๑. ๑ อาชีพ รับจ้างทั่วไป จำนวน 193 คน/ครัวเรือน
8. ๑. ๒ อาชีพ ค้าขาย จำนวน 193 คน/ครัวเรือน
8. ๑. 3 อาชีพ เกษคร ทำสวน จำนวน 518 คน/ครัวเรือน
8. ๑. 5 อาชีพ รับราชการ จำนวน 88 คน/ครัวเรือน
8. ๑. 6 อาชีพ พนักงานบริษัท จำนวน 78 คน/ครัวเรือน
8. ๑. 7 อาชีพ อาชีพอื่นๆ จำนวน 239 คน/ครัวเรือน
8. ๒ อาชีพเสริมหรืออาชีพรอง
8. ๒. ๑ อาชีพทำขนม จำนวน 38 คน/ครัวเรือน
8. ๒. ๒ อาชีพตัดเย็บ จำนวน 95 คน/ครัวเรือน
8. ๒. 3 อาชีพปลูกผัก จำนวน 15 คน/ครัวเรือน
8. ๒. 4 อาชีพเลี้ยงสัตว์ จำนวน 23 คน/ครัวเรือน
9. ผู้ว่างงาน จำนวน 274 คน แยกเป็น
9. ๑ กลุ่มอายุ ๑๓ - ๑๔ ปี จำนวน 70 คน
๔. ๒ กลุ่มอายุ ๑๙ - ๒๕ ปี จำนวน 92 คน
๙. ๓ กลุ่มอายุ ๒๕ ปี ขึ้นไป จำนวน 111 คน
๑๐. ตำบลมีรายได้ 11,178,000 บาท/ปี รายจ่าย 10,509,000 บาท/ปี
มีหนี้สิน - บาท / ปี
๑๑. รายได้เฉลี่ยของประชากร (ตามเกณฑ์จปฐ. ปี) จำนวน 49,612.82 บาท/คน/ปี
ครัวเรือนยากจน (รายได้ไม่ถึง ๓๘, 000 บาทคน/ปี) ปี 2562
จำนวน 11 ครัวเรือน
ชื่อหัวหน้าครัวเรือน หมู่ที่ อาชีพหัวหน้าครัวเรือน รายได้เฉลี่ยคน/ปี (บาท)
นาง แมะยะ มะดีเยาะ 1 รับจ้างทั่วไป 35,000.00
นาย สะมะแอ เจ๊ะเลาะ 1 รับจ้างทั่วไป 35,000.00
นาย อามี อาลี 1 รับจ้างทั่วไป 35,000.00
นางสาว สุรียานี มะแซ 1 รับจ้างทั่วไป 35,000.00
นาง ลีเยาะ เจ๊ะมะ 2 ไม่มีอาชีพ 8,400.00
นาย มือลี มะมิง 2 เกษตร-ทำสวน 30,000.00
นาย อาหามะ ดือรอเสะ 2 รับจ้างทั่วไป 30,000.00
นางสาว หสสรรณีย์ อาแวซีแต 2 รับจ้างทั่วไป 32,500.00
นางสาว เจ๊ะอานะ ดาโอ๊ะ 2 รับจ้างทั่วไป 32,500.00
นาง มูแย สาและ 3 เกษตร-ทำสวน 35,000.00
นาง แมะซง เจ๊ะเงาะ 6 รับจ้างทั่วไป 36,000.00
๑๒. จำนวนกลุ่มกิจกรรม/อาชีพ มีจำนวน 12 กลุ่ม ดังนี้ (ควรระบุรายละเอียดอื่นๆที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน)
๑๒.๑ ตัดเย็บเสื้อผ้า หมู่ 1,2,4 จำนวนสมาชิก 30 คน
๑๒.2 กลุ่มทำเบเกอร์รี่ หมู่ 1,2,4 จำนวนสมาชิก 35 คน
๑๒.3 กลุ่มทำน้ำยาล้างจาน หมู่ 1 จำนวนสมาชิก 1๐ คน
๑๒.4 กลุ่มลี้ยงปลาดุกในกระชัง หมู่ 1,2 จำนวนสมาชิก 40 คน
๑๒.5 กลุ่มเลี้ยงโคขุน หมู่ 2,5,6 จำนวนสมาชิก 60 คน
๑๒.6 กลุ่มปลูกมะนาวบ่อซีเมนต์ หมู่ 2 จำนวนสมาชิก 15 คน
12.7 ชมรม To be number one ทุกหมู่บ้าน จำนวนสมาชิก 100 คน
12.8 กลุ่ม กลุ่มอาชีพค้าขาย หมู่ 3 จำนวนสมาชิก 30 คน
12.9 กลุ่มปลูกผัก หมู่ 3,4,5 จำนวนสมาชิก 130 คน
12.10 กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต หมู่ 5 จำนวนสมาชิก 30 คน
12.11 กลุ่ม อสม. ทุกหมู่บ้าน จำนวนสมาชิก 88 คน
12.12 กลุ่มพัฒนาบทบาทสตรี ทุกหมู่บ้าน จำนวนสมาชิก 1200 คน
๑๓. กองทุนในตำบล มีจำนวน 4 กองทุน ดังนี้
๑๓.๑ ชื่อกองทุนหมู่บ้าน มีจำนวน 6 กองทุน
มีงบประมาณรวม 6,000,000 บาท
๑๓.๒ ชื่อกองทุนกองทุนแม่ของแผ่นดิน มีจำนวน 5 กองทุน
มีงบประมาณรวม 43,000บาท
๑๓.๓ ชื่อกองทุนออมทรัพย์เพื่อการเกษตร มีจำนวน 1 กองทุน
มีงบประมาณรวม 917,670 บาท
๑๓.4 ชื่อกองทุนออมทรัพย์สัจจะ มีจำนวน 1 กองทุน
มีงบประมาณรวม 50,000 บาท
๑๔. ข้อมูลความต้องการพัฒนาฝีมือแรงงานของประชาชน
อาชีพทำขนม จำนวน 20 คน
อาชีพเพาะเห็ดฟาง จำนวน ๒๐ คน
อาชีพตัดเย็บเสื้อผ้า จำนวน 15 คน
อาชีพปลูกผัก จำนวน 30 คน
อาชีพช่างตัดผม จำนวน 5 คน
อาชีพจักรสาน จำนวน 20 คน
อาชีพเลี้ยงไก่ จำนวน 15 คน
15 ข้อมูลคมนาคม/สาธารณูปโภค
15.1 การเดินทางเข้าตำบล
การคมนาคมขนส่งถนนในตำบลปูโยะมีจำนวนทั้งหมด ๓๐ สายแบ่งเป็น-ถนนคอนกรีต ๑๖ สายถนนลาดยาง ๓ สายถนนลูกรัง 99 สาย-สะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก ๑๕ สาย.
15.2 สาธารณูปโภค
การไฟฟ้า
การใช้ไฟฟ้าในตำบลปูโยะ มีดังนี้
- จำนวนครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้ ๑, ๔๓๘ ครัวเรือน
- พื้นที่ได้รับการบริการไฟฟ้า ร้อยละของพื้นที่ทั้งหมดคิดเป็น ๑๐๐%
- ไฟฟ้าสาธารณะ (ไฟฟ้าส่องสว่าง) มีจำนวน ๔๕๑ จุด
การประปา
การใช้ประปาในตำบลปูโยะ มีประชากรที่ใช้น้ำประปา จำนวน ๔ หมู่บ้าน
- หมู่ที่ ๑ บ้านลาแล - หมู่ที่ ๒ บ้านปูโยะ
- หมู่ที่ ๓ บ้านโต๊ะเวาะ - หมู่ที่ 5 บ้านโคกสือแด
โทรศัพท์ / ระบบอินเตอร์เน็ต / Wifi
- มีการใช้โทรศัพท์ตามบ้านเรือน และใช้มือถือหรือสมาร์ทโฟน ทุกครัวเรือน
- ประชาชนมีการใช้ระบบอินเตอร์เน็ต / Wif ในการติดต่อสื่อสารอย่างแพร่หลาย
ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่งและวัสดุครุภัณฑ์
- มีที่ทำการไปรษณีย์เอกชนอนุญาต ๑ แห่ง
15.3 แหล่งน้ำ
พื้นที่ในตำบลปูโยะ แบ่งเป็น
- บ่อน้ำตื้น (บ่อน้ำผิวดิน) จำนวน 726 แห่ง
- สระน้ำ จำนวน 1 แห่ง
- บ่อบาดาล จำนวน 5 แห่ง
- ฝายทดน้ำ จำนวน 1 แห่ง
- คูระบายน้ำ จำนวน 7 แห่ง
- ลำน้ำธรรมชาติ จำนวน 8 สาย